สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
Fiscal Policy Office
Search
เปลี่ยนการแสดงผล :
THTHLanguage
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค 10 ณ จังหวัดภูเก็ต ในระหว่างวันที่ 4-5 กันยายน 2546ที่ประ
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค 10 ณ จังหวัดภูเก็ต ในระหว่างวันที่ 4-5 กันยายน 2546ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นั้น สาระสำคัญ และประโยชน์ที่ประเทศไทย จะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่

ตอบ   ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเปค (The Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2532 (ค.ศ.1989) โดยประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ริเริ่ม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสนับสนุนการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีเป้าหมายหลัก 4 ประการ คือ การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืนและยุติธรรม การพัฒนาบรรษัทธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี การสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพของภาคการเงิน และสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกเอเปค ในปัจจุบัน สมาชิกเอเปคประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ (Member Economies)

สาระสำคัญของการประชุมที่ผ่านมา
       ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น 10 ครั้ง สมาชิกเอเปคได้มีการหารือในประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น ยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค การปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินโลก (International Financial Architecture-IFA) การสร้างระบบการระวังภัยและป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำและดำเนินมาตรการริเริ่มต่างๆ (APEC Policy Initiatives) ที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเสถียรภาพของเศรษฐกิจและการเงินภายในภูมิภาค ซึ่งสมาชิกจะรับไปดำเนินการตามความสมัครใจและรายงานผลต่อที่ประชุม โดยมีมาตรการต่างๆ สรุปได้ดังนี้
       (1) มาตรการเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบการเงิน ได้แก่ Voluntary Action Plan for Freer and Stable Capital Flows, Bank Failure Management, Fighting Financial Crimes, Financial Regulators Training Initiative, Company Accounting and Financial Reporting Task Force, Electronic Financial Transactions System
       (2) มาตรการเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตลาดทุน ได้แก่ Supporting the Development of Credit Rating Agencies and Strengthening Disclosure Standards, Privatization Forum
       (3) มาตรการเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลด้านการเงิน ได้แก่ APEC Future Economic Leaders Think Tank, APEC Finance and Development Program
       (4) มาตรการเพื่อเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการองค์กรที่ดี ได้แก่ Pathfinder Initiative on Corporate Governance

       โดยประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในการศึกษามาตรการริเริ่มต่างๆ ดังนี้
       (1) APEC Initiative on Privatization Forum โดยมีประเทศไทยเป็นผู้ประสานงานหลัก
       (2) APEC Initiative on Alternative Remittance System โดยมีประเทศไทย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสิงค์โปร์ เป็นผู้ประสานงานหลัก
       (3) Development of Securization and Credit Guarantee Markets โดยมีประเทศไทย สาธารณรัฐเกาหลี และเขตปกครองพิเศษฮ่องกงร่วมเป็นผู้ประสานงานหลัก
       (4) Insolvency Law โดยมีประเทศไทยและอินโดนีเซียเป็นผู้ประสานงานหลัก

การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 10 ที่ประเทศไทยเป็นประธาน
       ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 10 ได้มีการหารือภายใต้หัวข้อหลัก Local/Regional Link, Global Reach: A New APEC Financial Cooperation ซึ่งมุ้งเน้นการเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละเขตเศรษฐกิจเข้ากับเศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจโลกควบคู่กันไปเข้าด้วยกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้สมาชิกเอเปคสมควรมีความร่วมมือทางการเงินที่จะสร้างความเชื่อมโยง (Linkage) ที่แข็งแกร่งระหว่างเศรษฐกิจในแต่ละเขตเศรษฐกิจและของภูมิภาค เนื่องจากระบบเศรษฐกิจไม่สามารถที่จะพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ หากปราศจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยหัวข้อหลักนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 หัวข้อย่อย (Sub-Theme) ได้แก่
       (1) การพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Grass-roots and SME Development)
       (2) การพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาค (Regional Bond Market Development)
       (3) การเปิดเสรีทางการค้าในมุมมองนโยบายการเงินและการคลัง (Fiscal and Financial Aspects of Regional Trade Arrangements)

การเตรียมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังครั้งที่ 11
       ในการประชุมปีนี้ 2547 ชิลีเป็นเจ้าภาพ ได้มีการกำหนดหัวข้อหลักดังนี้
       (1)Fiscal Policy for Growth and Stability in an Open APEC Region โดยจะเน้นถึงการมีวินัยทางการคลัง (Fiscal Disclipine) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐในช่วงเศรษฐกิจหดตัว ที่จะต้องเน้นการบริหารจัดการที่มีความเหมาะสม ทั้งด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สาธารณะ เป็นต้น
       (2) Institution Building in a World of Free Volatile Capital Flows: Looking Forward to APEC 2020 โดยที่ตามเป้าหมาย Bogor ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาจะต้องดำเนินนโยบายเพื่อให้มีการค้าและการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี ซึ่งการเคลื่อนย้ายเงินสุทธิระหว่างสมาชิกเอเปคในปัจจุบันยังมีความผันผวนอยู่มาก สมาชิกเอเปคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศจึงควรร่วมมือกันเพื่อลดความผันผวนดังกล่าว ทั้งในระดับภายในประเทศและต่างประเทศ

ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ
       เวทีเอเปคจะเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกเอเปคอื่นๆ ซึ่งสามารถใช้เวทีเอเปคในการหารือระดับนโยบายและร่วมหาแนวทางการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคและประชาสัมพันธ์ศักยภาพของเศรษฐกิจไทยต่อนักลงทุน