โครงการวิจัย |
เรื่อง การพัฒนาระบบการออมระยะยาวของประเทศไทย (2551) |
|
|
คณะวิจัย |
|
นางสุวัฒนา ศรีภิรมย์
นางสาวสุปาณี จันทรมาศ
นางสาวปาริฉัตร คลิ้งทอง |
|
|
บทสรุปผู้บริหาร
- การศึกษาเรื่อง“การพัฒนาระบบการออมระยะยาวของประเทศไทย”มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบเครื่องมือการออมระยะยาวที่เหมาะสมสอดคล้องกับ สถานการณ์แรงงานของประเทศ และการศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของเครื่องมือการออมระยะยาวที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อให้ประเทศมีเครื่องมือการออมระยะยาวในการรองรับความต้องการออมของแรงงานอย่างทั่วถึงทุกกลุ่มอาชีพและระดับรายได้ ในการเตรียมความพร้อม ให้กับแรงงานมีรายได้จากการออมเงินไว้ใช้ภายหลังวัยทำงาน และเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มเงินออมระยะยาวในประเทศ รวมทั้งการเสนอแนวทางการแก้ไข ปัญหาอุปสรรคในเครื่องมือที่มีอยู่เดิมเพื่อให้เครื่องมือสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดวิธีการศึกษาดำเนินการโดยศึกษาสถานการณ์ของแรงงาน ทั่วประเทศ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการออมของแรงงาน ศึกษารูปแบบเครื่องมือการออมระยะยาว เครื่องมือการออมระยะยาวในประเทศไทย และศึกษารูปแบบ เครื่องมือการออมระยะยาวจากตัวอย่างต่างประเทศ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแนวทางในการกำหนดรูปแบบเครื่องมือการออม ระยะยาวที่เหมาะสมของประเทศไทย
- ผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างแรงงานของประเทศแบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก คือ แบบที่ 1 แบ่งตามลักษณะการได้รับความคุ้มครอง ซึ่งจะมี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) แรงงานในระบบ และ 2) แรงงานนอกระบบ แบบที่ 2 แบ่งตามกลุ่มอาชีพ ซึ่งจะมี 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1) กลุ่มอาชีพข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ 2) กลุ่มแรงงานอิสระ 3) กลุ่มแรงงานเอกชน และ 4) กลุ่มเกษตรกรรม ในการกำหนดเครื่องมือการออมจะอาศัยการแบ่งแรงงานตามกลุ่มอาชีพ เนื่องจากมีความสอดคล้องกับลักษณะ การจ้างงานและระดับรายได้ที่เป็นคุณสมบัติในการกำหนดลักษณะของเครื่องมือการออมการออมระยะยาวได้เหมาะสมมากกว่า..........
|