การศึกษาระบบการกำกับดูแลกองทุนบำเหน็จบำนาญที่เหมาะสม (เงิน SAL)
โครงการวิจัย
เรื่อง การศึกษาระบบการกำกับดูแลกองทุนบำเหน็จบำนาญที่เหมาะสม   (2551)
   
คณะวิจัย
  นางสาวสุปาณี จันทรมาศ
นางสาวปาริฉัตร คลิ้งทอง 

 

 

 

 

 
บทสรุปผู้บริหาร

 

การศึกษาวิจัย เรื่อง ระบบการกำกับดูแลกองทุนบำเหน็จบำนาญที่เหมาะสมมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาแนวทางกำหนดให้มีระบบการกำกับดูแลกองทุน บำเหน็จบำนาญที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย กรณีที่มีการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) โดยศึกษาถึงจุดแข็ง จุดอ่อนของระบบการกำกับดูแลที่มีอยู่ แล้วในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลใหม่ ในด้านความเหมาะสม โดยอ้างอิงกับความมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน ความประหยัดต่อขนาดและระบบ ธรรมาภิบาลขององค์กรกำกับดูแล

 

 

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ในเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุน - ผลได้ (Cost-Benefit Analysis) การวิเคราะห์ ด้านความประหยัดต่อขนาด(Economy of Scale) ในลักษณะของการกำกับดูแลแบบรวมศูนย์ (Centralized) และแบบกระจายศูนย์(Decentralized) รวมทั้งการศึกษา ระบบการกำกับดูแลระบบบำเหน็จบำนาญของต่างประเทศที่มีรูปแบบการกำกับดูแล ทั้งแบบรวมศูนย์และกระจายศูนย์ เพื่อนำเสนอระบบการกำกับดูแลที่เหมาะสม ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปแบบ โครงสร้าง องค์ประกอบย่อย บทบาทหน้าที่ของแต่ละส่วนย่อย และทีมงานบุคคลากร

 

 

ผลการศึกษาพบว่าระบบกำกับดูแลกองทุนบำเหน็จบำนาญของไทยในปัจจุบัน พบว่าโดยรวมมีจุดแข็ง คือ ระบบ การบริหารกองทุนบำเหน็จบำนาญของ ประเทศไทย มีความเป็นอิสระต่อกัน (Independent) ก่อให้เกิดการบริหารที่มีความรวดเร็วในแต่ละกองทุน เนื่องจากในแต่ละกองทุนสามารถดำเนินนโยบายของ กองทุนตนเองได้เลย โดยไม่ต้องรอนโยบายจากกองทุนอื่นๆ และมีจุดอ่อนคือ ขาดยุทธศาสตร์ในระดับประเทศในประเด็นการออมเพื่อวัยหลังเกษียณ ทำให้เกิด ความไม่เชื่อมโยงในระบบการบริหารของกองทุนต่างๆ อันเป็นผลให้นโยบายของแต่ละกองทุนไม่สอดคล้องและไม่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน การออกนโยบาย กฎระเบียบ และการดำเนินงานภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จของแต่ละกองทุนเอง อาจจะทำให้เกิดจุดอ่อนในการดำเนินงานขึ้นได้ โดยเฉพาะประเด็นความไม่โปร่งใส ของการบริหารงาน และอาจจะทำให้เกิดการแทรกแซงทางการเมืองได้ง่ายผ่านขบวนการแต่งตั้งตัวแทนและการคัดเลือกผู้บริหารและการที่รัฐบาลปล่อยให้กองทุน ต่างๆมีอิสระต่อกัน(Decentralization) อาจจะทำให้เกิดการดำเนินบางอย่างผิดพลาดและไม่โปร่งใสได้....................