การจัดทำดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมในการริเริ่มสกุลเงินอาเซียนและศึกษาผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยภายใต้สกุลเ
โครงการวิจัย
การจัดทำดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมในการริเริ่มสกุลเงินอาเซียนและศึกษาผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยภายใต้สกุลเงินอาเซียน   (2555)
   
คณะวิจัย
 

1.   ดร.กุลยา       ตันติเตมิท          ที่ปรึกษาโครงการ

2.   ดร.กุลกัลยา   พระยาราช         หัวหน้าโครงการ

3.   นางนวพร       วิริยานุพงศ์         นักวิจัย

4.   ดร.กุลกานต์   ตันติเตมิท          นักวิจัย

5.   ณรงค์ชัย  ฐิตินันท์พงศ์            นักวิจัย

6.   ดร.อรศิริ         รังรักษ์ศิริวร       นักวิจัย

7.   นางสาวชุวดี  ไชยเชาวน์        นักวิจัย

8.   นายธงจรัส     แสงอรุณ           นักวิจัย

 

 

 

 

 

                อาเซียนได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Cooperation: AEC) ภายในปี 2558 ซึ่งประเทศมหาอำนาจและอีกหลายประเทศต่างจับตามอง        การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนว่าจะเป็นไปในทิศทางใด และมีหลายคำถามว่า   สุดท้ายอาเซียนจะใช้สกุลเงินร่วมเช่นเดียวกับประเทศในสหภาพยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโรหรือไม่? อย่างไรก็ดี     ในเชิงนโยบายว่าด้วยความร่วมมือนโยบายระหว่างประเทศ ผู้นำอาเซียนต่างเห็นพ้องต้องกันว่า อาเซียนจะร่วมมือกันพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกัน แต่จะยังไม่มีการใช้สกุลเงินร่วมกัน เนื่องจาก เห็นว่า อาเซียนยังไม่มีความพร้อมในการใช้สกุลเงินร่วม อีกทั้งประสบการณ์ของยุโรป ทำให้อาเซียนต้องทบทวนบทบาทความร่วมมือให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

                งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความพร้อมในการใช้สกุลเงินร่วมอาเซียน โดยเป็นการศึกษา ทั้ง Bottom-Up และ Top-Down โดยจะมุ่งให้ความสำคัญกับประเทศอาเซียน-5 (ASEAN-5)  ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อพิจารณาความพร้อมด้านเศรษฐกิจของ ASEAN-5 ในการนำไปสู่การใช้สกุลเงินอาเซียนร่วมกัน ควบคู่ไปกับการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในหลายอาชีพ จาก 5 ภูมิภาคทั่วประเทศไทย รวมถึงความเห็นจากผู้บริหารและนักวิชาการภาครัฐและเอกชน เกี่ยวกับความพร้อมในการใช้สกุลเงินอาเซียน นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาต่อไปอีกว่าหากยังไม่มีความพร้อมในการใช้สกุลเงินร่วมกัน   ช่วงใดจะมีความเป็นไปได้สำหรับ ASEAN-5 ที่จะพร้อมในการใช้สกุลเงินร่วม โดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ควบคู่ไปกับการสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อหาคำตอบ และบรรลุวัตถุประสงค์การศึกษาของงานวิจัยนี้...