โครงการวิจัย |
เรื่อง การศึกษาภาระทางการคลังจากโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนกรณีศึกษาโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระรายใหญ่ (2552) |
|
|
คณะวิจัย |
|
1.นางไพรินทร์ ศรีศุภวินิจ ที่ปรึกษาโครงการ
2.นางสาววิมล ชาตะมีนา หัวหน้าโครงการ
3.นายกวิตม์ ศิริสรรพ์ นักวิจัย
4.นายวรัณ ประดิษฐทัศนีย์ นักวิจัย
5.นายวิธีร์ พานิชย์วงศ์ นักวิจัย
6.นายณัฐพล ศรีพจนารถ นักวิจัย |
|
|
บทสรุปผู้บริหาร
- การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnerships หรือ PPP) เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดหาสินค้าและบริการ ซึ่งเดิมดำเนินการ โดยภาครัฐเพียงลำพัง โดยให้ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้น ซึ่งทำให้โครงการลงทุนสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอรัฐบาลจัดสรรงบประมาณ เป็นการลดภาระ การคลัง รวมทั้งสามารถถ่ายโอนความเสี่ยงไปให้ภาคเอกชนได้ อย่างไรก็ตาม สัญญาโครงการ PPP อาจถูกปกปิดในบางประเด็นด้วยเหตุผลด้านธุรกิจ ทำให้ สาธารณชนไม่สามารถตรวจสอบได้สะดวก และขาดความโปร่งใส และกลายเป็นเครื่องมือบิดเบือนการแสดงฐานะการคลังหรือหนี้สาธารณะได้
- ดังนั้นการวิเคราะห์และประเมินภาระทางการคลังจากโครงการ PPP จะช่วยให้รัฐบาลทราบถึงภาระการคลังที่แน่นอน (Direct Liability) และความเสี่ยง (Contingent Liability) ทั้งที่เป็นภาระแบบชัดเจน (Explicit Liability) และภาระแบบโดยนัย (Implicit Liability) ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการร่วมทุนกับภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและการบริหารจัดการความเสี่ยงทางการคลังของรัฐบาล
- ในการศึกษาครั้งนี้จะทำการศึกษา โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระรายใหญ่ (Independent Power Producer: IPP) เพื่อใช้เป็นกรณีตัวอย่าง เนื่องจากเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2537 ทำให้สามารถติดตามผลการดำเนินงานได้ มีลักษณะการร่วมทุนแบบบริษัทเอกชนเป็นผู้ก่อสร้างเป็นเจ้าของ และดำเนินการ (Build Own Operate: BOO) ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการ IPP การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะมีภาระผูกพันตามสัญญา ซื้อไฟฟ้าระยะ ยาว จาก IPP ตามสูตรที่ระบุไว้ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวระหว่างภาครัฐและเอกชน (Power Purchase Agreement PPA) โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (Availability Payment: AP) ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment: EP) โดยค่า AP เป็นค่าตอบแทนที่ กฟผ. ต้องจ่ายหากโรงไฟฟ้ามีความพร้อมในการผลิต ในส่วนค่า EP จะเป็นค่าตอบแทนที่ กฟผ. จ่ายตามปริมาณการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าให้กับโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ ภาระในการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP ของ กฟผ. จะเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งของต้นทุนค่าไฟฟ้าของ กฟผ. ที่สะท้อนอยู่ในค่าไฟฟ้าขายส่งให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ได้แก่ กฟภ. และ กฟน. และสะท้อนอยู่ในค่าไฟฟ้าขายปลีกให้แก่ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า (ค่าขายไฟฟ้าประกอบด้วยค่าไฟฟ้าฐาน และค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือค่า Ft) อย่างไรก็ดี ต้นทุนค่าซื้อไฟฟ้า อาจไม่สามารถส่งผ่านมายังค่าไฟฟ้าขายปลีกและค่าไฟฟ้าขายได้ทั้งหมด หรือ ต้องใช้เวลาในการปรับ เปลี่ยนราคา เพื่อไม่ให้การปรับราคาค่าไฟฟ้าเป็นภาระกับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้ามากนัก.............
|