การศึกษาแนวทางการลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในกระบวนการงบประมาณรายจ่ายเพื่อการคลังยั่งยืน (ภาษีท้
โครงการวิจัย
การศึกษาแนวทางการลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในกระบวนการงบประมาณรายจ่ายเพื่อการคลังยั่งยืน   (2559)
   
คณะวิจัย
 


ที่ปรึกษาโครงการ
         นางสาววิมล ชาตะมีนา

คณะผู้วิจัย

  1. นางสาวสิริกมล อุดมผล
  2. นายศุทธ์ธี เกตุทัต
  3. นางสาวไพลิน ช่างภิญโญ
  4. นายณัฐพล สุภาดุลย์
  5. นายอธิก เล้าสกุล
  6. นางสาวลลิตา ละสอน
  7. นางสาวธีราภา ธีรรัตนสถิต

 

 

 

 

 

           ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจมีความเชื่อมโยงมากขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลจึงมีแนวโน้มต้องติดต่อกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ    การติดต่อหน่วยงานต่างประเทศจำเป็นต้องใช้เงินสกุลต่างประเทศเป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน ในขณะที่การจัดทำงบประมาณแผ่นดินของประเทศไทยเป็นการประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า และเป็นการตั้งงบประมาณในสกุลเงินบาท ในขณะที่ภาระรายจ่ายจริงบางรายการต้องกระทำเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ส่งผลให้งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลต้องเผชิญกับ “ความเสี่ยงจากความ  ผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน” ซึ่งหมายถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนที่คาดการณ์ไว้ (Expected Exchange Rate) แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจริง (Spot Exchange Rate) ในขณะที่ส่วนราชการไม่มีการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อเข้ามารองรับความเสี่ยงนี้ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน กล่าวคือ หากสกุลเงินต่างประเทศแข็งค่าขึ้น จะส่งผลให้เงินงบประมาณที่จัดสรรไว้ไม่เพียงพอ และรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้แก่หน่วยงานเจ้าของงบประมาณ หรือหากสกุลเงินต่างประเทศอ่อนค่าลงจะส่งผลให้เงินงบประมาณที่จัดสรรไว้เกินความต้องการ ก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสที่จะนำเงินส่วนดังกล่าวไปใช้ในโครงการอื่นๆ ของรัฐบาล