Search for:
Home
ฝ่ายกำกับงานวิจัย
จรรยาบรรณการวิจัย
คู่มือบริหารงานวิจัยของ สศค.
การบริหารงานโครงการวิจัย
โครงการวิจัย
เรื่องใหม่
E-Book
ข่าวประชาสัมพันธ์
FPO e-Research
Search for:
หน้าแรก
ฝ่ายกำกับงานวิจัย
จรรยาบรรณการวิจัย
คู่มือบริหารงานวิจัยของ สศค.
การบริหารงานโครงการวิจัย
โครงการวิจัย
เรื่องใหม่
E-Book
ข่าวประชาสัมพันธ์
Home
>
โครงการวิจัย
>
โครงการวิจัยทางการคลัง และภาษี
>
การปรับโครงสร้างรายได้ของรัฐบาลชดเชยการลดลงของภาษีศุลกากร (เงิน SAL)
การปรับโครงสร้างรายได้ของรัฐบาลชดเชยการลดลงของภาษีศุลกากร (เงิน SAL)
โครงการวิจัย
เรื่อง การปรับโครงสร้างรายได้ของรัฐบาลชดเชยการลดลงของภาษีศุลกากร (2551)
คณะวิจัย
มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
บทสรุปผู้บริหาร
ความยั่งยืนของรายได้เป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการดำเนินนโยบายเพื่อให้เศรษฐกิจพัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มี ความจำเป็นที่ภาครัฐต้องเข้ามามีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทย แหล่งรายได้ที่สำคัญ คือ รายได้ที่มาจากการจัดเก็บภาษีทั้งประเภททางตรง และทางอ้อม ที่ดำเนินการจัดเก็บโดยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร นอกจากนี้ แหล่งรายได้ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง คือ รายได้ที่มาจากการ บริหารทรัพย์สินของรัฐ ซึ่งได้แก่ ที่ราชพัสดุ (Treasury Land) หรือ ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจประเภทต่างๆ
กระแสโลกาภิวัตน์ และสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อความสามารถในการสร้างรายได้ของรัฐบาลด้วยเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ไม่สามารถละเลยได้ คือ กระแสการเจรจาเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี ซึ่งประเด็นที่สำคัญในการเจรจาการค้า ระหว่างประเทศนี้ คือ การขจัดเครื่องกีดกันการค้าในรูปภาษี (Tax Barriers) ในการค้าระหว่างประเทศของคู่เจรจา ซึ่งหมายถึงการปรับลดอัตราภาษีศุลกากร ในส่วนของการนำเข้าสินค้าจากประเทศ หรือกลุ่มประเทศคู่เจรจานั่นเอง การดำเนินการดังกล่าวเป็นที่คาดหมายว่าในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อรายได้ จัดเก็บของกรมศุลกากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของอากรขาเข้า ว่าจะมีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และจากการที่รายได้จากจัดเก็บของกรมศุลกากรเป็นแหล่ง รายได้ของรัฐบาลที่สำคัญแหล่งหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นที่คาดหมายว่าจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรายได้ของรัฐบาลอย่างแน่นอน
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลที่จะเกิดขึ้นจากกระแสดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะแนวทางการดำเนินการเพื่อรับมือ กับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเสริมสร้างความมีเสถียรภาพในการจัดเก็บรายได้ของประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนา ประเทศตามเป้าหมาย การดำเนินการศึกษาเริ่มจากการประเมินผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีต่อความสามารถ ในการจัดเก็บอากร ขาเข้าของรัฐบาล โดยการจัดสร้างแบบจำลองเพื่อประมาณการการจัดเก็บอากรขาเข้า จากนั้น เพื่อทำให้สามารถพิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับการสร้างรายได้ อย่างเป็น ูปธรรม และสามารถบูรณาการผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ในภาพรวม เพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจเชิงนโยบายที่มีประสิทธิภาพ คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการ จัดสร้างแบบจำลองเพื่อประมาณการรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพากร และภาษีสรรพสามิต และแบบจำลองเพื่อประมาณการรายได้จากการบริหารทรัพย์สิน ของรัฐ ซึ่งครอบคลุมทั้งการบริหารที่ราชพัสดุ และการบริหารที่ของรัฐวิสาหกิจ และมาร่วมพิจารณาผลที่เกิดขึ้นในแบบจำลองรายได้รัฐบาลเพื่อประเมินผลที่ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงแนวทางการสร้างรายได้ของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ....................
Download
การปรับโครงสร้างรายได้ของรัฐบาลชดเชยการลดลงของภาษีศุลกากร (เงิน SAL)
Download