โครงการวิจัย |
เรื่อง ความรู้ความเข้าใจของผู้ฝากเงินและผู้ถือกรมธรรม์ และนัยต่อการพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้ใช้ บริการทางการเงิน (2552) |
|
|
คณะวิจัย |
|
1. นางอังคนา ประยูรสิน หัวหน้าโครงการ
2. นายพีรกานต์ บูรณากาญจน์ นักวิจัย
3. นางสาวจุฑาทอง จารุมิลินท นักวิจัย
4. หม่อมหลวงพงศ์ระพีพร อาภากร นักวิจัย
5. นางสาวพจณีย์ ล้วนไพศาลนนท์ นักวิจัย
6. นางสาวศิริตลา แสงด้วง นักวิจัย |
|
|
- เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียถือเป็นเศรษฐกิจแบบเปิด (Open Economy) ที่พึ่งพาการค้าระหว่างประเทศ และเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่าง ประเทศ (International Capital Flows) ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ซึ่งการเคลื่อนย้ายเงินทุนนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ประเทศต่างๆ พึงต้องระมัดระวัง โดยการเคลื่อนย้ายของเงินทุนเสรีและเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผลกระทบ ในด้านความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น สะท้อนได้จากความเชื่อมโยงของตลาดเงินและตลาดทุนไทยที่มีมากขึ้น ซึ่งเมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งเกิดปัญหา ทางเศรษฐกิจก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องภายในภูมิภาค (Contagion Effect) ดังจะเห็นได้จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก (Global Financial Crisis) ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2551
- ดังนั้น โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองศึกษาผลกระทบของเงินทุนเคลื่อนย้ายภายในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 และกลุ่มประเทศยุโรป ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก และการเปรียบเทียบผลกระทบของเงินทุนเคลื่อนย้ายภายในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 และกลุ่มประเทศยุโรปที่มีการรวมตัว ทางการเงินมาก่อนหน้า อันจะสามารถทำให้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะสามารถใช้รองรับความผันผวนของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โลกและเศรษฐกิจภูมิภาค ในอนาคตและพิจารณาแนวทางความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ และนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน และการลงทุน ระหว่างกันของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยโครงการวิจัยได้พัฒนาแบบจำลองเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบผลกระทบของเงินทุนเคลื่อนย้ายภายในกลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซียน+3 โดยการศึกษานี้จะมุ่งเน้น การพัฒนาแบบจำลองเพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลกระทบของเงินทุนเคลื่อนย้ายภายในกลุ่มประเทศ(Intraregional Capital Flow) ต่อตัวแปรเศรษฐกิจ มหภาค (Macroeconomic Variables) ที่สำคัญ 7 ตัวแปรหลัก คือ (1) อัตราการขยายตัวของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Growth in Gross Domestic Product)(2) อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) (3) อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) (4) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate) (5)ดัชนีการลงทุนภายใน ประเทศ (Domestic Investment Index) (6) ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (Stock Exchange Index) (7) อัตราการว่างงาน(Unemployment Rate) สำหรับตัวแปรเงินทุนเคลื่อนย้ายภายในกลุ่มประเทศนั้น ได้แก่ เงินลงทุนโดยตรง ระหว่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Foreign Portfolio Investment) ทั้งนี้ จำนวนประเทศที่ได้ ศึกษาจะจัดอยู่ในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่และมีบทบาทสำคัญในภูมิภาค ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง อันประกอบด้วย 5 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย สิงค์โปร์ และมาเลเซีย โดยทำการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ กับกลุ่มประเทศ ยุโรป ...............
|