นโยบายการกำกับดูแลเพื่อพัฒนาการแข่งขันในธุรกิจทางการเงินในประเทศไทย (เงินงบประมาณ)
โครงการวิจัย
เรื่อง นโยบายการกำกับดูแลเพื่อพัฒนาการแข่งขันในธุรกิจทางการเงินในประเทศไทย   (2553)
   
คณะวิจัย
  นายสมคิด บุญล้นเหลือ     หัวหน้าโครงการ 
ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์     นักวิจัย 
นางนวพร วิริยานุพงศ์     นักวิจัย 
นางสาวศิริตลา แสงด้วง     นักวิจัย 
นางสาวรินทร์ธิยา เธียรธิติกุล     นักวิจัย 
ดร. นรพัชร์ อัศววัลลภ     นักวิจัย 
นายธนากร ไพรวรรณ์     นักวิจัย 
นายจรัสวิชญ สายธารทอง     นักวิจัย 
นางสาวธนทรัพย์ สอนเดช     ผู้ช่วยนักวิจัย

 

 

 

 

 
บทสรุปผู้บริหาร

 

โครงการวิจัย เรื่อง “นโยบายการกำกับดูแลเพื่อพัฒนาการแข่งขันในธุรกิจทางการเงิน ในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์สภาพการแข่งขันและสภาพการกำกับดูแล ธุรกิจทางการเงินทั้งในประเทศไทยและเปรียบเทียบกับต่างประเทศ และ (2) เพื่อออกแบบนโยบายที่ควร จะเป็นในการกำกับดูแลให้เกิดการพัฒนาด้านการแข่งขันในธุรกิจทางการเงินในประเทศไทย ทำการศึกษา เฉพาะธุรกิจทางการเงินหลัก 3 ประเภท คือ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจประกันภัย (ประกันชีวิต และ ประกันวินาศภัย) และธุรกิจหลักทรัพย์ และศึกษาเปรียบเทียบในลักษณะกรณีศึกษาของประเทศ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้อง และมีการวิจัยเชิงปริมาณสนับสนุนในส่วนของการวัด ระดับการแข่งขันด้วยค่าดัชนีเฮอร์ฟินดาล- เฮิร์ชแมน (Herfindahl-Hirschman Index: HHI) และอัตราการกระจุกตัว (Concentration ratio)

 

 

ผลการวิจัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์ที่ (1) พบว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ประกันชีวิต ประกัน วินาศภัย และหลักทรัพย์ มีสภาพการแข่งขันทางธุรกิจ สภาพการกำกับดูแล และนโยบายตามแผนพัฒนา ธุรกิจแต่ละประเภทคล้ายคลึงและแตกต่างกันไป โดยในภาพรวมธุรกิจทางการเงิน ในประเทศไทยมี โครงสร้างตลาดแบบแข่งขันไม่สมบูรณ์ จากการวัดระดับการแข่งขันภายในธุรกิจด้วยดัชนี HHI พบว่า ธุรกิจประกันวินาศภัยและหลักทรัพย์มีระดับการแข่งขันภายในธุรกิจสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีระดับ การแข่งขันปานกลาง ในขณะที่ธุรกิจประกันชีวิตมีการแข่งขันต่ำกว่าธุรกิจประเภทอื่นโดยเปรียบเทียบ (ตารางและภาพประกอบ)......