โครงการวิจัย |
การพัฒนาเครื่องมือทางการเงินสำหรับเกษตรกร : กรณีศึกษาการประกันภัยพืชผลโดยใช้ดัชนีสภาพอากาศในประเทศไทย (2553) |
|
|
คณะวิจัย |
|
1. นางสาวพนอศรี ถาวรเศรษฐ์ ที่ปรึกษาโครงการ
2. ดร. จุฑาทอง จารุมิลินท หัวหน้าโครงการ
3. ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร นักวิจัย
4. ดร. ม.ล. พงศ์ระพีพร อาภากร นักวิจัย
5. นางสาวจุฑารัตน์ กาญจนอุดมการ นักวิจัย
6. นายอมรศักดิ . มาลา นักวิจัย
7. นายทวีศักดิ . มานะกุล นักวิจัยภายนอก
8. นายวิทูร วัชชพันธ์ นักวิจัยภายนอก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
9. นางสุกัญญา อธิปอนันต์ นักวิจัยภายนอก กรมส่งเสริมการเกษตร
10. นายสุพร จิวโพธิ.เจริญ ผู้ช่วยนักวิจัย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร |
|
|
บทสรุปผู้บริหาร
- ปัจจุบันผู้รับประกันภัยเอกชนสามารถดำเนินการรับประกันภัยพืชผล ประเภทภัยแล้งเพียงอย่าง เดียว และสำหรับพืช 2 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่ง เริ่มมีการประกันภัยจริงในปี 2550 และ ปัจจุบันมีพื้น ที่รับประกันภัยใน 7 จังหวัด ได้แก่ น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา ลพบุรี และสระบุรี และข้าวนาปี ซึ่ง เริ่มมีการประกันภัยจริงในปี 2553 ในพื้น ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่ง การประกันภัย พืชผลดังกล่าวใช้วิธีดัชนีสภาพอากาศเป็นเกณฑ์ในการประเมินความเสียหาย โดยถึงแม้ว่าการประกันภัย พืชผลในประเทศไทยจะได้มีการเริ่มศึกษาและทดลองมาเกือบ 40 ปี แล้ว แต่ขาดความต่อเนื่องของ การศึกษาในบางช่วง จนกระทั่ง ถึงปัจจุบันก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จในวงกว้าง ทั้ง ในมิติของพื้น ที่รับ ประกันภัย มิติของพืช และมิติของภัย
- จากข้อเท็จจริงดังกล่าว และกรอบแนวคิดที่ว่าด้วยการจัดการความเสี่ยงภัยธรรมชาติของ เกษตรกรโดยใช้เครื่องมือทางการเงินในการถ่ายโอนความเสี่ยงจากเกษตรกรผู้เพาะปลูกไปยังผู้รับ ประกันภัย ซึ่งถือเป็นการจัดการความเสี่ยงวิธีหนึ่งนอกเหนือจากการลดโอกาสและผลกระทบจากภัย ธรรมชาติโดยวิธีการชลประทาน และการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร ประกอบกับเหตุผลสำคัญเชิง เศรษฐศาสตร์ที่ภาคเอกชนผู้ให้บริการประกันภัยเพียงผู้เดียวมีข้อจำกัดในการเข้ามามีบทบาทในตลาด ประกันภัยพืชผล ได้แก่ ความเสี่ยงเชิงระบบ (systemic risk) ของภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อการ เพาะปลูกของเกษตรกรเป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ทำให้การกระจายความเสี่ยงของผู้รับประกันภัย เอกชนทำได้ยาก พร้อมทั้ง ข้อจำกัดทางการตลาดที่เกษตรกรเป็นผู้มีรายได้น้อย และเกษตรกรผู้เลือก ที่จะเอาประกันภัยมักเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง (adverse selection) จึงก่อให้เกิดบทบาทของภาครัฐที่ควร เข้ามาสนับสนุนให้การประกันภัยพืชผลได้รับการพัฒนาให้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เกษตรกรสามารถจัดการ ความเสี่ยงภัยธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
|