บทบาทของระบบการเงินระดับฐานรากในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน
โครงการวิจัย
บทบาทของระบบการเงินระดับฐานรากในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน   (2554)
   
คณะวิจัย
 

1. นายกฤษฎา  อุทยานิน                     ที่ปรึกษาโครงการ

2. หม่อมหลวงพงศ์ระพีพร     อาภากร   หัวหน้าโครงการ

3. นางสาวจุฑาทอง  จารุมิลินท          นักวิจัย

4. นางสาวรินทร์ธิยา  เธียรธิติกุล          นักวิจัย

5. นายนวพล   ภิญโญอนันตพงษ์          นักวิจัย

6. นายธนากร  ไพรวรรณ์                       นักวิจัย

7. นางสาวภัทรมน  พลพิพัฒนพงศ์         นักวิจัย

8. นายทวีศักดิ์  มานะกุล                        นักวิจัย

9. นางสาวนงนุช  ตันติสันติวงศ์              นักวิจัย

10. นางสาวปานรพี    รังสี                      ผู้ช่วยนักวิจัย

 

 

 

 

 

 

          โครงการวิจัย “บทบาทของการเงินระดับฐานรากในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน” มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาองค์กรการเงินระดับฐานรากในประเทศไทย เพื่อให้เป็นกลไกหลักในการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการเงินฐานรากและข้อมูลองค์กรการเงินระดับฐานราก ซึ่งรวมถึงบทบาท รูปแบบการดำเนินงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมาตรการส่งเสริมของทางการ ทั้งในต่างประเทศและของไทย เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Comparative study) ส่วนวิธีดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ศึกษาอุปสงค์และอุปทานของการให้บริการทางการเงินระดับฐานรากโดยการสำรวจข้อมูล และการพัฒนาแบบจำลองทางเศรษฐมิติ หรือเทคนิคทางสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ 

          จากการสำรวจข้อมูลการใช้บริการทางการเงินของผู้ใช้บริการ 3,011 คน ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และกลุ่มออมทรัพย์ เป็นองค์กรการเงินระดับฐานรากที่มีบทบาทสำคัญในการให้บริการทางการเงินแก่ผู้ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท อาชีพเกษตรกร รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้..........