การพัฒนามาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสีเขียว
โครงการวิจัย
การพัฒนามาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสีเขียว   (2557)
   
คณะวิจัย
 

ที่ปรึกษาโครงการ

นายลวรณ  แสงสนิท

คณะผู้วิจัย

นายเวทางค์  พ่วงทรัพย์  หัวหน้าโครงการ

นายพงศ์ระพีพร  อาภากร             นักวิจัย

นายธนากร        ไพรวรรณ์            นักวิจัย

นางสาวปิยวัลย์  ศรีขำ                  นักวิจัย

นายปฐมพงษ์    เอกวนิชชาญ        นักวิจัย

นายสุธี             เหลืองอร่ามกุล      นักวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยทรัพยากรธรรมชาติบางประเภทอาจไม่สามารถสร้างใหม่ทดแทนได้ หรืออาจต้องใช้ระยะเวลานานในการสร้างขึ้นทดแทน เช่น ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแร่ธาตุต่าง ๆ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดทำให้ราคาของทรัพยากรธรรมชาติในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมสูงขึ้น นอกจากนี้ การใช้พลังงานที่ไม่สะอาดเหล่านี้ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศและมลพิษที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว  (Green Economy) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Renewable Energy) หรือเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Energy) ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจและส่งเสริมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป

แม้ว่าเศรษฐกิจสีเขียวจะมีประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมมากมาย การสนับสนุนทางการเงินเพื่อเศรษฐกิจสีเขียวในประเทศไทยยังมีข้อจำกัด โดยมีเหตุผลด้วยกันหลายประการ ประการแรก ธุรกิจส่วนใหญ่ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ยังไม่ได้เล็งเห็นถึงผลประโยชน์ระยะยาวในการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประการที่สอง สถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือธนาคารพาณิชย์ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอในการในการประเมินความเสี่ยงและความคุ้มค่าของโครงการสีเขียว และประการสุดท้าย ในการดำเนินโครงการสีเขียวต้องใช้เงินลงทุนเริ่มแรกเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ผู้ผลิตและสถาบันการเงินไม่สนใจการดำเนินธุรกรรมเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสีเขียว