โลกาภิวัตน์ด้านเงินทุนและเศรษฐกิจฐานรากของไทยในทศวรรษหน้า
โครงการวิจัย
เรื่อง โลกาภิวัตน์ด้านเงินทุนและเศรษฐกิจฐานรากของไทยในทศวรรษหน้า   (2551)
   
คณะวิจัย
  เวทางค์ พ่วงทรัพย์
สุธี เหลืองอร่ามกุล
ทวีศักดิ์ มานะกุล
วรรณา ศักดารัตน์
พีรกานต์ บูรณากาญจน์
กฤติกา โพธิ์ไทรย์
สิริมน กิจสุวรรณ
ธนกฤต ฉัตรภรณ์

 

 

 

 

 

 

การศึกษาฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงนโยบายเพื่อเสนอแนวทางรองรับกระแสโลกาภิวัตน์ด้านเงินทุนสำหรับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งยังไม่เคยมีการจัดทำขึ้นมาก่อน การศึกษาฉบับนี้มีเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มกระแสโลกาภิวัตน์ด้านเงินทุน 2) การประเมินผลกระทบของกระแสโลกิวัตน์ด้านเงินทุน ต่อเศรษฐกิจฐานราก โดยได้พัฒนาแบบจำลอง Computational General Equilibrium Capital Flow Model (CGE Capital Flow Model) เพื่อใช้ใน การประเมินผลกระทบ และ 3) การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

 

 

จากการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มกระแสโลกาภิวัตน์ด้านเงินทุน พบว่า

 

 

1) กระแสโลกาภิวัตน์ด้านเงินทุนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากบรรยากาศที่ส่งเสริมทั้งข้อตกลงและความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระดับทวิภาคีและ พหุภาคี การรวมตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคต่างๆ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การเกิดธุรกรรมใหม่ ๆ ทางการเงิน การส่งเริมการลงทุนในต่างประเทศ ตลอดจนการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกอย่างต่อเนื่อง โดยการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 20 โดยมีอัตราการขยาย ตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.8 ในช่วงปี 2523 – 2533 (ค.ศ. 1980 – 1990) และสูงขึ้นเป็นเฉลี่ยร้อยละ 14.2 ในช่วงปี 2533-2549 (ค.ศ. 1990 – 2006)

 

 

2) เงินทุนของโลกยังอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และยุโรป โดยการลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2533 -2549 (ค.ศ. 1990 – 2006) และคิดเป็นสัดส่วนที่สูงสุดของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศเกือบตลอดช่วงเวลาดังกล่าว