การบริหารจัดการดุลยภาพการออมและการลงทุนของประเทศ (เงินงบประมาณ)
โครงการวิจัย
เรื่อง การบริหารจัดการดุลยภาพการออมและการลงทุนของประเทศ   (2551)
   
คณะวิจัย
  นางสาวกรรณิการ์ เอกเผ่าพันธุ์    (ที่ปรึกษาโครงการ)
นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล
นายวรากร ทองกวาว
นางวราภรณ์ ตั้งตรงศักดิ์
นายวรวุฒิ แซ่ลิ่ม

 

 

 

 

 
บทสรุปผู้บริหาร

 

งานวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการดุลยภาพการออมและการลงทุนของประเทศ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาและสร้างหลักในการอธิบายทิศทางของ ความสัมพันธ์ (Causality) ระหว่างดุลยภาพการออมและการลงทุนกับดุลยภาพของดุลบัญชีเดินสะพัด เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการวิเคราะห์ ภาวะไร้ดุลยภาพของ การออมและการลงทุนโดยรวมของประเทศ และสร้างระบบการบริหารจัดการดุลยภาพการออมและการลงทุนของประเทศที่สามารถใช้บ่งชี้ถึงระดับความรุนแรงของ ปัญหาดุลยภาพการออมและการลงทุน พร้อมทั้งสามารถประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์คาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยคณะผู้วิจัยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ค่าแนวโน้มในระยะยาว (Long Term Trend) การวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูล (Granger’s Causality Test)และการประยุกต์ใช้แบบจำลอง Harrod-Domar ในการวิเคราะห์การบริหารจัดการดุลยภาพการออมและการลงทุนของประเทศ

 

 

จากการวิเคราะห์ค่าแนวโน้มในระยะยาว (Long Term Trend) ของระดับช่องว่างการออมและการลงทุนต่อ GDP พบว่า ในช่วงปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ นั้น ระดับช่องว่างการออมและการลงทุนต่อ GDPจะอยู่นอกเขตช่วงที่ยอมรับได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เมื่อระดับช่องว่างการออมและการลงทุนต่อ GDP ที่เกิดขึ้นห่างจาก เส้น Long Term Trend มากและอยู่นอกช่วงที่ยอมรับได้ จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาหรือสภาวการณ์ที่ผิดปกติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

 

 

หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา (ปี 2540) ระดับช่องว่างการออมและการลงทุนต่อ GDP ของประเทศมีค่าเป็นบวกมาโดยตลอด แต่ทว่าแนวโน้มใน ระยะยาว (Long Term Trend) อาจเกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดขึ้นได้ เนื่องจากการลงทุนที่สูงขึ้น ขณะที่อัตราการออมมีอัตราการเติบโตเท่าเดิมหรือเปลี่ยนแปลง ไม่มากนัก อย่างไรก็ดี การลงทุน Mega Project ของรัฐบาลในช่วงระยะ 3-5 ปีข้างหน้า อาจจำเป็นต้องระดมเงินลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อดุลบัญชี เดินสะพัดติดลบมากขึ้น และสถานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงได้