การสร้างระบบการออมเพื่อการชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ (เงิน SAL)
โครงการวิจัย
เรื่อง การสร้างระบบการออมเพื่อการชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ   (2551)
   
คณะวิจัย
  - นางสุวัฒนา ศรีภิรมย์     (หัวหน้าคณะวิจัย)
- อาจารย์ชญณา พูลทรัพย์    (ผู้วิจัยโครงการย่อย)
- โครงการสตรีและเยาวชนศึกษาคณะวิจัยโครงการย่อย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    (คณะวิจัยโครงการย่อยการสำรวจความพึงพอใจของแรงงานนอกระบบ)
- มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Home Net)
- นายเอกลักษณ์ กิตติรัชกุล    (ผู้ช่วยนักวิจัย)
- นางสาวพัชราภรณ์ วิริยะคุปต์    (ผู้ช่วยนักวิจัย) 
- นายเรวัตร ฉ่ำชื่น     (เจ้าหน้าที่โครงการ)

 

 

 

 

 
บทคัดย่อ

 

ประชาชนผู้อยู่ในวัยทำงานเป็นจำนวนมากถึงประมาณ 23 ล้านคน ได้มีความพยายามเรียกร้องในเรื่องการจัดสวัสดิการเพื่อความเป็นอยู่ ในระดับ พอเพียงตามอัตภาพ มาแล้วเป็นระยะเวลานานเนื่องด้วยประชาชนกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการหลายประการที่มีอยู่ในสังคมไทย ประชาชนวัยแรงงาน เหล่านี้ คือ แรงงานนอกระบบ ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ไม่มีนายจ้าง ไม่มีการแสดงสถานะหรือมีการจัดทำทะเบียนเกี่ยวกับการทำงานหรือสังกัดองค์กรไว้ ณ ที่ใด ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ซึ่งนับเป็นข้อด้อยและเป็นอุปสรรคต่อภาครัฐในการจัดหาระบบที่เหมาะสมต่อความหลากหลายของอาชีพแรงงานนอกระบบ

 

 

สังคมได้ตระหนักถึงความจำเป็น ข้อเรียกร้องและความต้องการมีสวัสดิการของแรงงานนอกระบบเป็นอย่างดี ซึ่งประเมินได้จากการที่มีนักวิชาการ เป็นจำนวนมากได้เสนอแนวทางการจัดตั้งกองทุนชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ และสำนักงานประกันสังคมได้มีการดำเนินการเรื่อง การขยายการประกันสังคม ให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ

 

 

ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง โครงการ การจัดตั้งระบบการออมเพื่อการชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ หรือ กองทุนบำนาญภาคประชาชน : กบป. ได้เสนอให้ รัฐดำเนินการจัดตั้งกองทุนการออมขึ้นโดยมีลักษณะเป็นองค์กรอิสระและเสนอให้มีระบบการกำกับนโยบายร่วมกับกองทุนการออมเพื่อการ ชราภาพโดยคณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ กองทุน กบป. จะเป็นเครื่องมือการออมเพื่อ

 

 

การเกษียณอายุที่ได้ออกแบบให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของแรงงานนอกระบบการศึกษานี้ ได้เสนอในเชิงนโยบายให้รัฐ ทำหน้าที่ด้านการสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนการจัดทำทะเบียนข้อมูลของแรงงานนอกระบบรวมถึงการสนับสนุนให้กองทุนมีขนาดที่เหมาะสมต่อการจ่าย ผลประโยชน์ทดแทนรายได้ในวัยเกษียณ หรือ เงินบำนาญให้แก่แรงงานนอกระบบด้วยการจัดสรรงบประมาณแรกตั้งให้แก่กองทุน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น แก่แรงงานนอกระบบ ในการออมเงินกับกองทุน.....................................