โครงการวิจัยเรื่อง
ผลทางเศรษฐกิจเชิงพลวัตจากระบบการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทย
Dynamic Economic Effects of Long - Term Savings for Retirement in Thailand
ที่ปรึกษาโครงการ
นางสาวสุปาณี จันทรมาศ
คณะผู้วิจัย
นางสาวปาริฉัตร คลิ้งทอง
นางสาวศศิภา เสริมพงษ์พันธ์
นางสาวพัทธมน เพราพันธ์
สานักงานเศรษฐกิจการคลัง
บทสรุปผู้บริหาร
การศึกษานี้ได้ประมาณการผลกระทบเชิงพลวัตของตัวแปรสำคัญทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐ โดยเน้นศึกษาการเปลี่ยนแปลงอัตราการจ่ายเงินออมในกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการคลังผ่านการใช้เครื่องมือทางด้านรายได้และรายจ่ายภาครัฐ ตัวแปรที่ศึกษาผลกระทบ ได้แก่ การบริโภครวม การลงทุนรวม การจ้างงาน ค่าจ้าง ทุนและโครงสร้างพื้นฐาน และผลผลิตมวลรวมในประเทศ ทำการศึกษาโดยใช้เครื่องมือแบบจำลอง Dynamic Stochastic General Equilibrium (DSGE) สำหรับข้อมูลและโครงสร้างทางเศรษฐกิจขนาดเล็กอย่างประเทศไทย ประมาณการโดยใช้เครื่องมือ Bayesian techniques คำนวณค่าพารามิเตอร์ และการหาผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
สำหรับเครื่องมือทางการคลัง ประกอบด้วยการใช้จ่ายลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ การใช้จ่ายบริโภคภาครัฐ อัตราภาษีเงินได้ อัตราภาษีบริโภค และเงินโอนภาครัฐ การกำหนดนโยบายทางการคลังจะสอดคล้องกับกฎความสามารถในการใช้หนี้ภาครัฐ และการทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีการเติบโตที่ยั่งยืน สำหรับระบบการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทยในการศึกษานี้ ใช้กองทุนการออมภาคบังคับ ได้แก่ กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ วัยแรงงานและนายจ้างจ่ายเงินสะสมสมทบเข้ากองทุนในอัตราเป็นสัดส่วนของค่าจ้าง วัยเกษียณจะได้รับบำนาญจากกองทุน
ผลการประมาณการโดยใช้เทคโนโลยีในการผลิตของภาคการผลิตแบบ endogenous growth model โดยรวมเอาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะที่มีผลต่อผลิตภาพการผลิตเข้าไปในฟังก์ชั่นการผลิต พบว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินสะสมสมทบเข้ากองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุ ส่งผลให้ตัวแปรสาคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การบริโภครวม การลงทุนรวม การจ้างงานรวม และผลผลิตมวลรวมในประเทศปรับตัวลดลงอยู่ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ยคงที่ในระยะสั้น และปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับค่าเฉลี่ยคงที่ในระยะยาว ในขณะที่ทุนและโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐไปลด (crowd out) การลงทุนภาคเอกชนในระยะสั้น แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะยาวและอยู่เหนือระดับค่าเฉลี่ยคงที่อีกหลายปี ตัวแปรอื่น ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งในระยะยาว การบริโภคและผลผลิตมวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นและอยู่เหนือระดับค่าเฉลี่ยคงที่
การศึกษานี้เสนอแนะให้ภาครัฐส่งเสริมการออมโดยเพิ่มอัตราการออมในกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุ เนื่องด้วยเหตุผลสาคัญ 3 ประการ กล่าวคือ (1) การปรับตัวสูงขึ้นของตัวแปรสาคัญ ต่าง ๆ ในระยะยาวไปอยู่ที่ระดับเหนือค่าเฉลี่ยเป็นผลมาจากการบริหารจัดการเงินออมให้เกิดดอกผลต่อระบบเศรษฐกิจ โดยการนำไปลงทุนในสินค้าทุนและโครงสร้างพื้นฐาน (2) การออมระยะยาวเพื่อ การเกษียณอายุมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้แรงงานมีเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ และเพื่อลดภาระทางการคลังจากการที่ต้องจัดสรรงบประมาณเลี้ยงดูผู้สูงอายุจำนวนมาก ในขณะที่วัยแรงงานลดลง ทำให้รายได้ภาษีเงินได้ภาครัฐมีแนวโน้มลดลงตามไปด้วย (3) ผลกระทบด้านลบเกิดเพียงในระยะสั้น ๆ แต่ในระยะยาว การออมระยะยาวในกองทุนจะนำมาซึ่งการเพิ่มขึ้นของโครงสร้างพื้นฐานและทุนที่สาคัญของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มรายได้ และเพิ่มการบริโภคครัวเรือน