ระบบติดตามความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก และประเมินนัยต่อเศรษฐกิจไทย
โครงการวิจัย
ระบบติดตามความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก และประเมินนัยต่อเศรษฐกิจไทย   (2556)
   
คณะวิจัย
 

ดร.กุลยา             ตันติเตมิท          ที่ปรึกษาโครงการ

ดร.ศรพล             ตุลยะเสถียร        หัวหน้าโครงการ

ดร.สิริกมล           อุดมผล               นักวิจัย

ดร.พิมพ์นารา       หิรัญกสิ              นักวิจัย

ดร.จงกล             คำไล้                 นักวิจัย

ดร.พีรพัฒน์          วงศ์ชัยวัฒน์        นักวิจัย

นางสาวอาร์จนา  ปานกาญจโนภาส    นักวิจัย

นายนิภัทร์            ชมบ้านแพ้ว        นักวิจัย

นางสาวกาญจนา  จันทรชิต           นักวิจัย

นางสาวพีรพรรณ  สุวรรณรัตน์          นักวิจัย

นายพนันดร          อรุณีนิรมาน          นักวิจัย

 

 

 

 

 

 

          ในทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยได้เผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจและการเงินมานับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะในปลายปี 2551 ที่เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับความผันผวนอย่างรุนแรงและเรื้อรังจากวิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ที่ได้ลุกลามไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจต่างๆ รวมทั้งเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ

          ความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดเชิงเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศต่างๆ เป็นบริบทของเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่สำคัญที่ส่งผลให้วิกฤติเศรษฐกิจที่ประเทศใดประเทศหนึ่งเผชิญมีความเสี่ยงที่จะลุกลามเป็นวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศอื่นๆ และวิกฤติเศรษฐกิจโลกในที่สุด

          จึงเป็นที่มาของโครงการวิจัยเรื่อง “ระบบติดตามความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลกและประเมินนัยต่อเศรษฐกิจไทย” ฉบับนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างเครื่องมือในการติดตามและประเมินอัตราการขยายตัวและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกภายใต้บริบทของเศรษฐกิจโลกใหม่ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจและผู้ที่สนใจสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนนโยบายเพื่อตั้งรับกับสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเหมาะสม