การศึกษาเพื่อพัฒนากฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวกับการเลี่ยงภาษีจากการลงทุนในต่างประเทศของผู้ประกอบการไทย
โครงการวิจัย
การศึกษาเพื่อพัฒนากฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวกับการเลี่ยงภาษีจากการลงทุนในต่างประเทศของผู้ประกอบการไทย   (2557)
   
คณะวิจัย
 

ที่ปรึกษาโครงการ

นายอรรถพล  อรรถวรเดช

คณะผู้วิจัย

นายปรนาคินทร์  กตัญญตานนท์

ดร. สุมาพร  ศรีสุนทร

นายพุฒิพงศ์  นิลสุ่ม

 

 

 

 

 

 

บทสรุปผู้บริหาร

ปัจจุบันการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างชัดเจน ซึ่งปัจจัยสาคัญส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของภาครัฐ อาทิ การขจัดความซ้าซ้อนของการจัดเก็บภาษีของกระทรวงการคลัง และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับเพิ่มวงเงินให้บริษัทแม่ในประเทศไทยสามารถลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น อีกทั้ง การเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งการลงทุน ในรูปแบบไร้พรมแดนนี้ ผู้ประกอบการอาจลงทุนในรูปแบบบริษัทข้ามชาติ เช่น ตั้งเป็นนิติบุคคลใหม่ บริษัทลูก สานักงานสาขา เป็นต้น โดยผู้ประกอบการมักเลือกรูปแบบและการจัดโครงสร้างการถือหุ้นเพื่อลดต้นทุนในทางภาษี และเลือกลงทุนในประเทศที่มีอัตราภาษีอากรต่าและให้สิทธิประโยชน์ในทางภาษีที่สูง ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายผลกาไรในลักษณะการเลี่ยงภาษีมากยิ่งขึ้นเพื่อลดภาระภาษีให้ต่าที่สุด เช่น การตั้งราคาโอน (Transfer Pricing) การเลือกอนุสัญญาภาษีซ้อนโดยบุคคลที่สาม (Treaty Shopping) หรือการโอนผลกาไรเข้าในดินแดนปลอดภาษี (Tax Haven) เป็นต้น