การพัฒนาระบบการวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตของประเทศไทยโดยใช้นโยบายการคลัง
โครงการวิจัย
การพัฒนาระบบการวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตของประเทศไทยโดยใช้นโยบายการคลัง   (2554)
   
คณะวิจัย
 

1. นายเอกนิติ  นิติทัณฑ์ประภาศ  ที่ปรึกษาโครงการ

2. นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์       หัวหน้าโครงการ

3. นางสาวพิมพ์นารา หิรัญกสิ

4. นายจงกล คำไล้

5. นายศศิน พริ้งพงษ์

6. นายยุทธภูมิ จารุเศร์นี

7. นายสุวิทย์ สรรพวิทยศิริ

 

 

 

 

 

 

          นโยบายการคลังเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการภาวะเศรษฐกิจ สังคมให้มีความแข็งแกร่งและมีการเติบโตยั่งยืน โดยการดำเนินการผ่านการจัดทำงบประมาณรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลเพื่อสร้างเสถียรภาพของการใช้จ่ายรวมของระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการผลิตและการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน สามารถลดปัญหาความผันผวนทางเศรษฐกิจลงได้ ดังเช่นในปี 2551 ประเทศไทยเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง ทำให้ภาคการผลิต ภาคการส่งออก และการใช้จ่ายภาคเอกชนหดตัวลงมาก ศักยภาพการผลิตของไทยลดลงมาอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลจึงใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 (Stimulus Package I) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าว ผลทำให้เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นและกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งภายในระยะเวลา 1 ปี นอกจากนั้นเพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลยังได้จัดทำ “แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555” ขึ้น ซึ่งจะเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานเพิ่มการจ้างงาน วางโครงสร้างการพัฒนาประเทศในระยะยาวเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต ดังนั้น จะเห็นได้ว่านอกจากนโยบายการคลังจะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมในระยะสั้นและระยะปานกลางจากการกระตุ้นเศรษฐกิจและพัฒนาการทางสังคมแล้ว นโยบายการคลังยังสามารถใช้ขับเคลื่อนความสามารถทางการแข่งขันและศักยภาพทางการผลิตของประเทศไทยเพื่อสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย..........