1. นางไพรินทร์ ศรีศุภวินิจ ที่ปรึกษาโครงการ
2. นายกวิตม์ ศิริสรรพ์ หัวหน้าโครงการ
3. นางสาวบุณฑรีก์ โฆษิตานุฤทธิ์ นักวิจัย
4. นายมยูร บุญยะรัตน์ นักวิจัย
5. นายณัฐพล ศรีพจนารถ นักวิจัย
จากผลของสภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งมีความรุนแรงมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะทวีผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านมูลค่าความเสียหายต่อครั้งมากขึ้นเป็นลำดับ โดยข้อมูลระยะ 30 ปีที่ผ่านมาพบว่า อุทกภัยเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่ส่งผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจมากที่สุด เนื่องจากมีความถี่ของการเกิดค่อนข้างบ่อยครั้งและมีมูลค่าความเสียหายรวมทั้ง ผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ ต้องได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลในรูปการจัดสรรงบประมาณโดยตรง หรือการดำเนินกิจกรรมกึ่งการคลังผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งเกิดเป็นภาระทางการคลังเพิ่มขึ้นในแต่ละปี และเบียดบังค่าใช้จ่ายสำหรับการพัฒนาประเทศที่จำเป็น ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติ จึงเป็นภารกิจของกระทรวงการคลังที่ต้องให้ความสำคัญ
การบริหารภาระและความเสี่ยงทางการคลังที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติที่ผ่านมามีลักษณะเป็นการจัดหาเงินทุนหลังเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ (Ex Post Financing) เช่น การจัดสรรงบประมาณ การกู้ยืมเงิน หรือการดำเนินมาตรการภาษี ซึ่งเป็นการจัดหาแหล่งเงินทุนชำระค่าความเสียหายหลังจากที่ภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้นแล้วเพื่อฟื้นฟูสภาพ บูรณะซ่อมแซม และก่อสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานที่ชำรุดเสียหาย รวมทั้งบรรเทา เยียวยาและช่วยเหลือภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม การจัดหาแหล่งเงินทุนก่อนการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ (Ex Ante Risk Financing) ซึ่งเป็นการบริหารความเสี่ยงทางการคลังในส่วนที่เป็นการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อลดภาระการคลังที่อาจเกิดขึ้น ได้ทวีความสำคัญมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของภัยพิบัติดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นกรอบการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ..........