การศึกษาระดับเงินคงคลังเหมาะสม
โครงการวิจัย
การศึกษาระดับเงินคงคลังเหมาะสม   (2556)
   
คณะวิจัย
 

นายพรชัย             ฐีระเวช               ที่ปรึกษาโครงการ

นายวุฒิพงศ์         จิตตั้งสกุล           หัวหน้าโครงการ

นางสาวสุภัค        ไชยวรรณ           นักวิจัย

นายสิทธิรัตน์       ดรงคมาศ            นักวิจัย

นางสาวพรทิพา   ศรีขจรวุฒิศักดิ์     นักวิจัย

นายณัฐพล          ศรีพจนารถ           นักวิจัย

นายณัฐพล          สุภาดุลย์              นักวิจัย

นายชาญณรงค์   จางกิตติรัตน์        นักวิจัย

 

 

 

 

 

 

          แนวคิดพื้นฐานในการบริหารเงินคงคลังควรจะต้องคำนึงถึงความเพียงพอของเงินสดในการเบิกจ่ายที่จำเป็น พร้อมกับคำนึงถึงต้นทุนที่เกิดจากการถือเงินคงคลังในระดับที่สูงเกินความต้องการและต่ำกว่าความต้องการ  ดังนั้น คณะวิจัยจึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาแบบจำลองโดยจะพิจารณาถึงปัจจัยทางบัญชีควบคู่ไปกับปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อหาผลลัพธ์ในรูปของระดับเงินคงคลังที่เหมาะสม โดยพิจารณาต้นทุนการบริหารเงินคงคลังใน 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ต้นทุนการถือเงินคงคลังสูงเกินความจำเป็น ซึ่งได้แก่ ต้นทุนค่าเสียโอกาสในการนำเงินไปลงทุนทางอื่น  และส่วนที่ 2 ต้นทุนการขาดแคลนเงินคงคลัง ได้แก่ กรณีที่รัฐบาลมีเงินคงคลังไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย และต้องมีการออกตราสารเพื่อจัดหาเงินสดเพิ่ม

          ในการศึกษานี้ ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองการบริหารเงินสดโดยการหาระดับเงินสด (เงินคงคลัง) ที่ทำให้ต้นทุนของการบริหารเงินสดต่ำที่สุด 3 แบบจำลอง ได้แก่  1) แบบจำลอง Baumol  2) แบบจำลองของ  Miller – Orr และ 3) แบบจำลอง Newsboy โดยได้แบ่งเป็นกรณีรัฐบาลดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล และกรณีรัฐบาลดำเนินนโยบายการคลังแบบสมดุล ทั้งนี้ ในการศึกษาจะใช้ผลการประมาณการตามแบบจำลอง Newsboy เป็นหลัก เนื่องจากเป็นแบบจำลองเดียวที่ได้คำนึงถึงความผันผวนของความต้องการเงินสดในการประมาณการระดับเงินคงคลังที่เหมาะสมของรัฐบาลไว้ด้วย