การศึกษาแนวทางการปรับปรุงระบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับกา
โครงการวิจัย
การศึกษาแนวทางการปรับปรุงระบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน   (2557)
   
คณะวิจัย
 

 

ที่ปรึกษาโครงการ

นายวโรทัย  โกศลพิศิษฐ์กุล

 

นางภัทราศรัย  พานิชวงศ์           หัวหน้าโครงการ

นายศุทธ์ธี  เกตุทัต                       นักวิจัย

นายมยูร  บุญยะรัตน์                   นักวิจัย

นางสาววาทินี  แก้วทับทิม          นักวิจัย

นางสาวจารุพัสตร์  พลทรัพย์      นักวิจัย

นายวิศรุต  นามจรัสเรืองศรี         นักวิจัย

 

 

 

 

 

 

บทสรุปผู้บริหาร

 

การจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของประเทศไทยมีการบังคับใช้มาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา โดยการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเป็นวิธีการจัดเก็บภาษีของรัฐที่กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเสียภาษีก่อนที่จะถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ โดยกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามประเภทเงินได้และอัตราภาษีที่กำหนด

ซึ่งจะช่วยให้กรมจัดเก็บภาษีจัดเก็บรายได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเป็นการบรรเทาภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้รับเงินได้ที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในคราวเดียวกันเป็นเงินจำนวนมาก ตลอดจนการลดแรงกดดันในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรและลดภาระหน้าที่ในการตรวจสอบภาษีหรือการติดตามจัดเก็บภาษีในภายหลัง

อย่างไรก็ดี จากการศึกษาระบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของประเทศไทยพบว่า รูปแบบการจัดเก็บยังไม่สอดคล้องกับหลักการจัดเก็บภาษีที่ดี ได้แก่ หลักความเป็นธรรม หลักความแน่นอนและชัดเจน และหลักความมีประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของไทยมีหลายอัตรา ในกรณีบุคคลธรรมดาอัตราภาษี

เงินได้หัก ณ ที่จ่ายขึ้นกับประเภทเงินได้ ทำให้มีอัตราภาษีแตกต่างถึง 7 อัตรา ในขณะที่อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ของนิติบุคคลขึ้นกับประเภทเงินได้ ประเภทผู้รับเงินได้ และประเภทผู้จ่ายเงินได้ ทำให้มีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน

จำนวน 7 อัตรา เช่นเดียวกันการที่มีอัตราภาษีที่หลากหลาย ส่งผลให้เกิดความสับสนต่อผู้ประกอบการซึ่งเป็น   ผู้จัดเก็บภาษีและนำส่งรัฐ รวมถึงผู้เสียภาษี นอกจากนี้ อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากเงินได้บางประเภทกำหนดไว้สูงเกินไปซึ่งเป็นการสร้างภาระต่อผู้ประกอบการเกินความจำเป็น ดังนั้นในการศึกษานี้คณะผู้วิจัยจึงมุ่งวิเคราะห์ความเหมาะสมของระบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของประเทศไทยในปัจจุบัน รวมทั้งแนวทางในการปรับปรุงระบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายทั้งในด้านอัตราภาษี กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และการบริหารการจัดเก็บภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยและรองรับการเข้าสู่การ