การเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการคลังท้องถิ่น
โครงการวิจัย
การเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการคลังท้องถิ่น   (2557)
   
คณะวิจัย
 

 

นายวุฒิพงศ์   จิตตั้งสกุล                               ที่ปรึกษาโครงการ

นายพหล เก้าเอี้ยน                                         หัวหน้าโครงการ

นายสิทธิรัตน์   ดรงคมาศ                              นักวิจัย

นางสาวพรทิพา  ศรีขจรวุฒิศักดิ์                   นักวิจัย

นายณัฐพล   ศรีพจนารถ                               นักวิจัย

นายณัฐพล   สุภาดุลย์                                   นักวิจัย

นายชาญณรงค์   จางกิตติรัตน์                       นักวิจัย

นายกวิน เอี่ยมตระกูล                                    นักวิจัย

นางสาวธีราภา ธีรรัตนสถิต                           นักวิจัย

 

 

 

 

 

 

บทสรุปผู้บริหาร

 

         โครงการวิจัยเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการคลังท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ (Technical Assistance) ระหว่างนักวิจัย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่
การคลังท้องถิ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการคลังท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
ในเรื่องการประมาณการรายได้ท้องถิ่น การบริหารรายจ่าย และการประเมินฐานะการคลังของ อปท. ผ่านการวิเคราะห์โครงสร้างการคลังและข้อมูลด้านการคลังของท้องถิ่น และเสนอแนะตัวชี้วัดทางการคลัง
(Fiscal Indicator) เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางเป้าหมายและการวางแผนการคลังท้องถิ่น รวมถึงการระดมสมองร่วมกันในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของการวางแผนการคลังท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการคลังของท้องถิ่นให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ของท้องถิ่น

              โครงการวิจัยนี้ได้กำหนดและคัดเลือก อปท. ที่เป็นกรณีศึกษา 2 แห่งตามข้อเสนอแนะของสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และตามเงื่อนไขที่คณะนักวิจัยได้กำหนด ได้แก่ เทศบาลเมืองคูคต และ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอิฐ โดยคณะนักวิจัยได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่และผู้บริหารของ อปท. ทั้ง 2 แห่ง ในการวิเคราะห์และระดมสมองเกี่ยวกับแนวทางการวางแผนการคลังท้องถิ่น
ใน 2 ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลด้านการคลัง ประกอบด้วยการวิเคราะห์และประมาณการรายได้ การบริหารรายจ่าย การประเมินฐานะทางการคลัง ระดับหนี้สิน และเงินสะสม เพื่อคำนวณและนำตัวชี้วัดด้าน           การคลังมาใช้พัฒนาเป็นการกำหนดเป้าหมายเชิงตัวเลข และเสนอแนะให้ใช้กำหนดเป็นทิศทางและแผนการคลังท้องถิ่น และ 2)  การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัด (SWOT Analysis) เพื่อนำจุดแข็งและโอกาสของ อปท. ที่เป็นกรณีศึกษามาใช้พัฒนาเป็นยุทธศาสตร์การคลังของท้องถิ่นให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ของท้องถิ่น