การศึกษาแนวทางการนำระบบภาษีเงินได้แบบแยกที่มาของเงินได้ (Dual Income Tax) มาใช้ในประเทศไทย (เงินงบปร
โครงการวิจัย
การศึกษาแนวทางการนำระบบภาษีเงินได้แบบแยกที่มาของเงินได้ (Dual Income Tax) มาใช้ในประเทศไทย   (2559)
   
คณะวิจัย
 


ที่ปรึกษาโครงการ
       นางสาววราทิพย์ อากาหยี่

คณะผู้วิจัย

  1. ดร.ปัณณ์ อนันอภิบุตร
  2. นางภัทราศรัย พานิชวงศ์
  3. ดร.กนต์ธีร์ นุชสุวรรณ
  4. นายถนอม เกตุเอม
  5. นายกานต์ จันทร์วิทยานุชิต
  6. นายพงศกร แก้วเหล็ก

 

 

 

 

 

           การจัดเก็บภาษีของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมักได้รับอิทธิพลจากระบบการเก็บภาษีเงินได้แบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Tax System) กล่าวคือ แหล่งของเงินได้ทุกประเภทสะท้อนความสามารถ ในการจ่ายภาษีเท่ากัน ดังนั้น เงินได้ทุกประเภทควรรับภาระภาษีในอัตราเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ปัญหา การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ (Capital Flight) ได้ทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะในโลก ยุคปัจจุบันที่การลงทุนระหว่างประเทศเป็นไปอย่างกว้างขวางการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศทำได้โดยง่าย การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศจึงทำได้โดยง่าย เนื่องจากเงินได้จากทุน (Capital Income) ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ย กำไร เงินปันผล มักจะมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย จึงเป็นแรงจูงใจให้บริษัทหรือนักลงทุนระหว่างประเทศวางแผนภาษีหรือหลีกเลี่ยงภาษี โดยการเคลื่อนย้ายเงินได้จากทุน (Capital Income) ไปยังประเทศที่เก็บภาษีในอัตราต่ำกว่าประเทศที่เป็นแหล่งเงินได้