โครงการวิจัย |
เรื่อง ผลกระทบจากการยกเลิกให้เงินชดเชยค่าภาษีอากรแนวทางแก้ไขปัญหาและมาตรการรองรับอื่นๆ สำหรับผู้ส่งออก (2551) |
|
|
คณะวิจัย |
|
นายชาญชัย มุสิกนิศากร ที่ปรึกษาโครงการ
นายสถาพร โคธีรานุรักษ์ ที่ปรึกษาโครงการ
นางระวิ ประทีปดลปรีชา ที่ปรึกษาโครงการ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาโครงการ
นางลาวัลย์ ภูวรรณ์ ที่ปรึกษาโครงการ
นายลวรณ แสงสนิท หัวหน้าโครงการ
นางสาววชิรา วราศรัย นักวิจัย
นายปิยะ สาชาติ นักวิจัย
นางสาวเอม เจริญทองตระกูล นักวิจัย
นางสาวศิริพร สุขุมศิริมงคล นักวิจัย
นางสาวณัฐสุดา ปาลวัฒน์วิไชย นักวิจัย
นางอรพินท์ จำปาทอง นักวิจัย |
|
|
บทสรุปผู้บริหาร
- มาตรการชดเชยค่าภาษีอากรเป็นหนึ่งในมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคืนภาระภาษีที่แฝงอยู่ ในต้นทุนการผลิตสินค้าส่งออก เพื่อให้ขายแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยจ่ายเป็นบัตรภาษีเพื่อให้นำไปชำระภาษี ซึ่งในแต่ละปีมีผู้ส่งออกที่ใช้สิทธิประโยชน์ ผ่านมาตรการดังกล่าวมากกว่าร้อยละ 15 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมด หรือคิดเป็นเงินชดเชยประมาณ 8,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีมาตรการส่งเสริม การส่งออกอื่นที่ให้คืนหรือยกเวน้ ภาระภาษีที่นำเข้ามาผลิตสินค้าส่งออก ได้แก่ การคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ คลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากรเขตประกอบ การเสรีและการยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 (1) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกสามารถเลือกใช้สิทธิได้ อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมามาตรการชดเชยค่าภาษีอากรฯ ก็ประสบปัญหาและมีข้อจำกัดในการดำเนินการหลายประการ เช่น อัตราเงินชดเชยเป็นอัตราเฉลี่ยไม่สามารถลง ไปในรายละเอียดในสินค้าแต่ละชนิดได้ ต้องระมัดระวังไม่ให้มีการชดเชยหรือคืนภาษีนำเข้าเกินกว่าภาระภาษีที่แฝงอยู่จริงการตรวจสอบการใช้สิทธิมาตรการ ชดเชยเป็นการตรวจสอบเฉพาะเอกสารหลักฐานการส่งออก อาจเกิดการผิดพลาดได้ง่าย และยังเสี่ยงต่อการทุจริตในการขอรับเงินชดเชย ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะกรรมการพิจารณาชดเชยฯ จึงได้มีมติให้ทยอยยกเลิกการให้เงินชดเชย และให้พิจารณาหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อรองรับผลกระทบต่อผู้ส่งออก เนื่องจาก มีผู้ส่งออกที่ใช้สิทธิมาตรการชดเชยอยู่เป็นจำนวนมาก การยกเลิกมาตรการชดเชยย่อมจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกในวงกว้าง จึงมีความจำเป็นจะต้องศึกษา ข้อเท็จจริงและข้อมูลเชิงลึกให้ทราบถึงปัจจัยต่างๆ และผลกระทบที่จะมีต่อผู้ส่งออก อันจะนำไปสู่การพิจารณาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย ได้แก่ กลไกการยกเลิกมาตรการชดเชย และมาตรการรองรับที่เหมาะสมสำหรับผู้ส่งออกต่อไป
- ในการศึกษา ได้สืบค้นข้อมูลและรวบรวมประสบการณ์การใช้มาตรการชดเชยการออกแบบสำรวจโดยตรงไปยังผู้ส่งออกเพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ การใช้สิทธิประโยชน์มาตรการชดเชย และมาตรการอื่นๆ ตลอดจนผลกระทบที่ผู้ส่งออกคาดว่าจะได้รับ หากมีการยกเลิกการให้เงินชดเชยค่าภาษีอากรในอนาคต การวิเคราะห์ผลกระทบของการยกเลิกมาตรการชดเชย ได้ศึกษาในภาพรวมของการส่งออกทุกพิกัด และศึกษาเจาะลึกผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและสินค้าที่คาด ว่าจะได้รับผลกระทบจากการยกเลิกมาตรการชดเชยในระดับสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมยานยนต์ และสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็ง การศึกษาผลกระทบได้มีข้อสมมติฐานว่า กิจการที่สามารถปรับเปลี่ยนไปใช้สิทธิอื่นได้จะไม่ได้รับผลกระทบกิจการที่มีสัดส่วนการใช้สิทธิมาตรการชดเชยน้อย ได้รับผลกระทบน้อย กิจการที่มีสัดส่วนการใช้สิทธิมาตรการชดเชยมากได้รับผลกระทบมาก แต่ระดับผลกระทบจะมีความแตกต่างกัน โดยกิจการที่มีทุน จดทะเบียนน้อยและมีมูลค่าขอรับเงินชดเชยน้อยได้รับผลกระทบระดับมาก กิจการที่มีทุนจดทะเบียนน้อยและมีมูลค่าขอรับเงินชดเชยปานกลางได้รับผลกระทบ ระดับปานกลาง และกิจการที่มีทุนจดทะเบียนปานกลางหรือมากได้รับผลกระทบน้อย..........
|