การศึกษาผลกระทบของรายจ่ายเพื่อสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ/ลูกจ้างและพนักงานของรัฐต่อภาระทางก
โครงการวิจัย
เรื่อง การศึกษาผลกระทบของรายจ่ายเพื่อสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ/ลูกจ้างและพนักงานของรัฐต่อภาระทางการคลัง   (2551)
   
คณะวิจัย
 

นายพรชัย   ฐีระเวช              หัวหน้าโครงการ

นางอัจฉรา  กลิ่นเกลา          นักวิจัย

นายศิวัสน์   เหลืองสมบูรณ์   นักวิจัย

นายวิธีร์      พานิชวงศ์           นักวิจัย

 

 

 

 

 
บทสรุปผู้บริหาร

 

ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเป็นสวัสดิการที่รัฐบาลจัดให้แก่ข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ และบุคคลในครอบครัว ระบบนี้เป็นระบบปลายเปิด (open-ended) โดยรัฐบาลอุดหนุนค่ารักษาพยาบาลโดยไม่จำกัดวงเงิน ทำให้ค่าใช้จ่ายของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วถึงเกือบร้อยละ 20 ต่อปี ซึ่งกลายเป็นภาระทางการคลังและมีผลกระทบต่อความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว

 

 

รัฐบาลได้มีความพยายามปรับปรุงระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลเพื่อให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ เช่น การใช้ระบบจ่ายเงินแบบวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) สำหรับผู้ป่วยใน และการปรับปรุงฐานข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความพยายามเหล่านี้ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไรนัก ทั้งนี้ มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้รายจ่ายสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการยากที่จะควบคุม โดยตัวของระบบเองซึ่งเป็นระบบปลายเปิด ทำให้มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ประกันตนและผู้ให้บริการ นอกจากนี้ การจัดตั้งระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี พ.ศ. 2545 ยังก่อให้เกิดการอุดหนุนไขว้ข้ามระบบ กล่าวคือ สถานพยาบาลมีแนวโน้มเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลเพื่อนำไปสนับสนุนการดำเนินการรักษาผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ดังนั้น การขยายตัวที่ไร้การควบคุมของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลจึงเป็นปัญหาที่สะท้อนถึงระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้วย

 

 

งานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มีการนำความคิดเห็นของข้าราชการต่อแนวทางการปรับปรุงระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลมาทำการวิเคราะห์ อย่างเป็นรูปธรรม จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ข้าราชการส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการปรับปรุงระบบสวัสดิการ.............