โครงการวิจัย |
เรื่อง การศึกษาภาระทางการคลังจากการให้สวัสดิการทางสังคมของรัฐบาลในกรณีศึกษาโครงการประกันสังคมและโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (2551) |
|
|
คณะวิจัย |
|
ร้อยโท นพดล พันธุ์กระวี ที่ปรึกษาโครงการ
นางสาววิมล ชาตะมีนา หัวหน้าโครงการ
นางสาวบุณฑรีก์ โฆษิตานุฤทธิ์ นักวิจัย
นายสิทธิรัตน์ ดรงคมาศ นักวิจัย
นายณัฐพล ศรีพจนารถ นักวิจัย |
|
|
บทสรุปผู้บริหาร
- การสร้างสวัสดิการทางสังคมเพื่อช่วยให้ประชาชนมีมาตรฐานชีวิตที่ดีขึ้น มีหลักประกันและความคุ้มครองถือเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของรัฐบาล ซึ่งโครงการประกันสังคมและโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดเป็นโครงการด้านสวัสดิการสังคมที่สำคัญของรัฐบาล โดยโครงการประกันสังคม ตั้งอยู่ บนหลักการของความมีส่วนร่วมการพึ่งตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประชาชนสำหรับผู้ที่มีรายได้และโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็น สวัสดิการที่รัฐบาลมอบให้แก่ประชาชนทุกคน เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณะสุขที่เหมาะสมและเพียงพอ
- อย่างไรก็ดี สวัสดิการดังกล่าวมาพร้อมกับต้นทุนที่รัฐบาลต้องรับภาระหรือภาระการคลังสำหรับงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ถึงภาระทางการคลัง อันเนื่องมาจากโครงการสวัสดิการทางสังคมได้แก่ โครงการประกันสังคมและโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้กรอบความเสี่ยงภาระงบประมาณ (FPO Applied Fiscal Risk Matrix) ที่ปรับปรุงมาจาก Government Fiscal Risk Matrix ของ Polackova (1998)
- จากการศึกษาพบว่าภาระทางการคลังของโครงการประกันสังคมประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่(1)เงินที่รัฐบาลต้องสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในฐานะรัฐบาล ซึ่งเป็นภาระต่องบประมาณที่แน่นอนและชัดเจน โดยเงินกองทุนได้ถูกแบ่งเป็น 3 กองทุนย่อย ประกอบด้วย กองทุนประโยชน์ทดแทน 4 กรณี (กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต) กองทุนประโยชน์ทดแทน 2 กรณี(กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ) และกองทุนกรณีว่างงาน ซึ่งมีการแยกบัญชีเงินกองทุนและการบริหารกองทุนที่เป็นอิสระต่อกัน (2) เงินอุดหนุนหรือเงินทดรองราชการในกรณีที่กองทุน ประกันสังคมมีเงินทุนไม่เพียงพอ ในการจ่ายผลประโยชน์ทดแทน และค่าใช้จ่ายในการบริหารงานซึ่งจัดเป็นภาระต่องบประมาณที่อาจจะเกิดขึ้นหรือภาระเสี่ยงที่ชัดเจน เนื่องจากมีการระบุไว้ใน พรบ.ประกันสังคมว่ารัฐจะต้องรับภาระดังกล่าว
|