การศึกษาวินัยทางการคลังของประเทศไทย (อดีตสู่ปัจจุบัน) และแนวทางในการเสริมสร้างวินัยทาง การคลังตามหลั
โครงการวิจัย
เรื่อง การศึกษาวินัยทางการคลังของประเทศไทย (อดีตสู่ปัจจุบัน) และแนวทางในการเสริมสร้างวินัยทาง การคลังตามหลักสากล   (2551)
   
คณะวิจัย
  นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาโครงการ
นางสาววิมล ชาตะมีนา หัวหน้าโครงการ
นางสาวนวจิตต์ บุณยรัตพันธุ์ นักวิจัย
นางสาวบุณฑรีก์ โฆษิตานุฤทธิ์ นักวิจัย
นายณัฐพล ศรีพจนารถ นักวิจัย

 

 

 

 

 
บทสรุปผู้บริหาร

 

วินัยทางการคลังเป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่การกำกับดูแลและการบริหารด้านการคลังที่ดีที่ส่งเสริมให้เกิดเสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลัง ในระยะยาว ดังนั้นในการดำเนินนโยบายทางการคลังหรือการใช้เครื่องมือทางการคลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่ภายใต้ กรอบวินัยทางการคลัง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประเทศไทยมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน

 

 

ในการศึกษาวิจัยนี้ คณะวิจัยได้ศึกษานิยาม หลักการ กฎเกณฑ์ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการรักษาวินัยการคลังที่เป็นที่ยอมรับในระดับ สากล กรณีศึกษากฎหมายทางด้านการคลังของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับวินัยทางการคลัง ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางการคลังของประเทศอินเดีย นิวซีแลนด์และฟิลิปปินส์ กฎหมายการคลังของประเทศอังกฤษ กฎหมายการคลังและงบประมาณของประเทศออสเตรเลีย ตลอดจนสนธิสัญญามาสทริชต์ของกลุ่ม สหภาพยุโรป และข้อตกลงทางการคลังของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาถึงการดำเนินนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านวินัยการคลังของประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1จนถึงปัจจุบัน รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณนาที่มีการเก็บรวบรวม ข้อมูลทุติยภูมิจากกฎหมาย เอกสารเชิงวิชาการ บทความ และเอกสารเผยแพร่ต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศนำมาศึกษา วิเคราะห์ เพื่อนำเสนอแนวทางที่ รวมถึงกฎเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการเสริมสร้างวินัยทางการคลังตามหลักสากลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมของประเทศไทยโดยมุ่งเน้นที่จะสร้าง ความโปร่งใสและลดความเสี่ยงและภาระการคลัง

 

 

จากผลการศึกษา คณะวิจัยได้เสนอนิยามของวินัยการคลังและแนวทางในการเสริมสร้างวินัยทางการคลัง ดังนี้............