โครงการวิจัย |
เรื่อง โครงการศึกษาข้อดี/ข้อเสีย และความเหมาะสมของการอนุญาตให้มีการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีทองคำเป็นสินค้าอ้างอิง (Gold Derivatives) (2551) |
|
|
คณะวิจัย |
|
นางสาวสุนทรี สุนทรนิล
นายกิตติพงศ์ อภิบาลศรี
นางสาวนงนุช ตันติสันติวงศ์
|
|
|
บทสรุปผู้บริหาร
- ในอดีต ทองคำเป็นสินค้าที่ต้องได้รับการอนุญาตในการนำเข้าตามพระราชกฤษฎีกา ควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่5) พ.ศ.2494 โดยเหตุผลที่ต้องควบคุมการนำเข้าทองคำในขณะนั้นเนื่องจาก (1) ทองคำเป็นสินค้าที่มีค่าเทียบเท่าเงินตราซึ่งมีการควบคุมการนำเข้า เงินตราจึงจำเป็นต้องควบคุมการนำเข้าทองคำด้วย (2) หากมีการนำเข้าทองคำมากเกินไปจะทำให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัด และ (3) ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ประชาชนมีไว้เพื่อออมทรัพย์ หากปล่อยให้มีการนำเข้า-ส่งออก เสรีจะทำให้มีการเก็งกำไรอันอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศได้
- อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2533 กระทรวงการคลังได้มีนโยบายที่จะนำเข้าทองคำเสรีมาใช้โดยมีการปรับเปลี่ยนเป็นขั้นตอน จากเดิมที่กระทรวงการคลัง เป็นผู้นำเข้าและให้บริษัทเอกชนเข้ามาประมูลเป็นผู้จำหน่าย เปลี่ยนเป็นการอนุญาตให้เอกชนผู้ประสงค์นำเข้าทองคำสามารถจดทะเบียน กับ สำนักงานเศรษฐกิจ การคลังโดยการมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และขออนุมัติการนำเข้าทองคำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 กระทรวงการคลัง ได้มีนโยบายผ่อนผันการนำ เข้าและส่งออกทองคำเพิ่มขึ้นโดยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 กระทรวงการคลังอนุญาตให้ผู้นำเข้าและ/หรือส่งออกทองคำไม่ต้องจดทะเบียนกับกระทรวงการคลัง แต่ต้องแจ้งการนำเข้า/ส่งออกแก่กระทรวงการคลังเพื่อทราบ โดยมีสมาคมผู้ค้าทองคำเป็นผู้กำหนดราคาทองคำที่ซื้อขาย ซึ่งอิงราคาทองคำต่างประเทศจากตลาดทองคำ ที่เปิดทำการอยู่ ณ เวลานั้น โดยมีการประกาศราคาแต่ละวันจะเอาราคาทองคำต่างประเทศ ณ เวลา นั้น มาคำนวณเพื่อปรับเป็นหน่วยเงินบาทประกอบการพิจารณา อุปสงค์และอุปทานในประเทศด้วย
|