แนวทางการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (เงิน SAL)
โครงการวิจัย
เรื่อง แนวทางการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจ   (2551)
   
คณะวิจัย
  1. นางสาวสุขุมาลย์ ลัดพลี
2. นางสาวอรุณศรี เมธิสริยพงศ์
3. นางสาวสภัทร์พร ธรรมาภรณ์พิลาศ 
4. นายนรพรรษ เพ็ชรตระกูล

 

 

 

 

 
บทสรุปผู้บริหาร

 

ในระบบเศรษฐกิจเสรี ระบบการเงินเป็นกลไกสำคัญยิ่งในการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเศรษฐกิจจากผู้ที่มีเงินออมไปยังผู้ที่ต้องการเงินทุน ซึ่งจะ ก่อให้เกิดการลงทุน การผลิตและการจ้างงาน อันเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตและมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ ระบบสถาบันการเงิน ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยส่งเสริมหน้าที่ของระบบการเงินให้สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น ประกอบกับในประเทศไทย สถาบันการเงินมีบทบาทอย่างมากต่อระบบ การเงินและระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นผู้รับความเสี่ยงในการปล่อยกู้ให้กับผู้ขอสินเชื่อหรือลงทุนให้กับผู้ฝากเงินและมีภาระต้องคืนเงินฝากตามเงื่อนไขที่กำหนด

 

 

ระบบสถาบันการเงินของไทย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) สถาบันการเงินเอกชนที่ประกอบไปด้วย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัท เงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และ 2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งสถาบันการเงินเอกชนจะดำเนินธุรกิจตามกลไกตลาด ในขณะที่สถาบันการเงิน เฉพาะกิจจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะเป็นกลไกของรัฐบาลในการสนับสนุนในกรณีที่สถาบันการเงินเอกชนไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางการเงินของผู้ประกอบ การและประชาชน ซึ่งต่างก็มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ

 

 

คณะผู้วิจัยเห็นว่า ภาครัฐได้ใช้สถาบันการเงินเฉพาะกิจในการเป็นกลไกหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น วัตถุประสงค์ของ การทำวิจัยฉบับนี้มีความมุ่งหมายที่จะได้มีส่วนในการจัดทำข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและปรับปรุงบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในระยะ ปานกลางและระยะยาวต่อไป.................................