Page 7 - index
P. 7
7
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแผนบริหารราชการแผ่นดิน และพิจารณาความเกี่ยวข้อง
ผู้รับผิดชอบ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และ/ หรือคณะท างานยุทธศาสตร์ สศค.
ระยะเวลา 2 - 3 สัปดาห์
ในขั้นตอนนี้ เมื่อรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดท าแผนบริหารราชการแผ่นดินเสร็จแล้ว ให้ส่วนราชการน าแผนบริหารราชการ
แผ่นดินนั้นมาพิจารณา โดยส่วนราชการ (กลุ่มพัฒนาระบบฯ / คณะท างานฯ) จะต้องทบทวนภารกิจที่
ด าเนินการตามบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของหน่วยงาน แล้วน าไปเปรียบเทียบความสอดคล้องกับแผน
บริหารราชการแผ่นดิน โดยมีแนวทางในการพิจารณา ดังนี้
(1) หากภารกิจที่ด าเนินการอยู่ สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน ให้น ามาจัดท าเป็น
แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจ าปี
(2) หากภารกิจที่ด าเนินการอยู่ ไม่สอดคล้อง แต่ใกล้เคียงกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน ให้
ปรับปรุงภารกิจให้สอดคล้องหรือใกล้เคียงมากที่สุด แล้วน ามาจัดท าเป็นแผนปฏิบัติ
ราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจ าปี
(3) หากภารกิจที่ด าเนินการอยู่ ไม่สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน สามารถยกเลิก
หรือจะไม่ด าเนินการต่อได้ (กรณีไม่มีงบประมาณ)
(4) หากได้รับการมอบหมายภารกิจใหม่ตามแผนบริหารราชการแผ่นดิน ให้จัดท ารายละเอียด
และบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจ าปี
ขั้นตอนที่ 2 การก าหนดทิศทางขององค์กร
ผู้รับผิดชอบ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และ /หรือคณะท างานยุทธศาสตร์ สศค.
ระยะเวลา 2 - 3 สัปดาห์
ในขั้นตอนที่ 2 นี้ ให้ส่วนราชการ (กลุ่มพัฒนาระบบฯ /คณะท างานฯ) ต้องน าแผนบริหาร
ราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์กระทรวง มาเชื่อมโยงกับเป้าหมายของหน่วยงาน โดยจะต้องพิจารณา / ทบทวน
สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก โอกาส อุปสรรค และความต้องการของผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เพื่อก าหนดออกมาเป็นทิศทางการด าเนินงานของหน่วยงานที่สอดรับกัน
ขั้นตอนที่ 3 จัดท าแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจ าปี
ผู้รับผิดชอบ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และ /หรือคณะท างานยุทธศาสตร์ สศค.
ระยะเวลา 1 - 2 สัปดาห์
เมื่อองค์กรได้ก าหนดทิศทางการด าเนินงานแล้ว (มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์
และกลยุทธ์) ส่วนราชการจะต้องรวบรวมแผนงาน/โครงการส าคัญ (Flag Ship) และภารกิจที่ต้องด าเนินการ
ทั้งหมด มาจัดล าดับความส าคัญ โดยจะต้องค านึงถึง 2 ประเด็นหลัก คือ ความจ าเป็นเร่งด่วน และผลที่คาดว่า
จะได้รับ หรือความคุ้มค่าของการด าเนินการโครงการในมิติต่างๆ กล่าวคือเป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการ
ด าเนินการโครงการ / กิจกรรม